วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปณิธานกายภาพบำบัดเพื่อประชาชน

นศก.กิจชนะ แก้วแก่น
นายกสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ปี 2553


" .....พวกเราในนาม Physical Therapy จะใช้ทั้งกายและใจ
ร่วมกันรักษาด้วยความตั้งใจและยึดตามหลักปณิธาน
พวกเราในนามกายภาพบำบัดจะขอเป็นกำลังต่อไป
ให้คนได้รู้ติดตรึงชื่อไว้ด้วยใจ...กายภาพบำบัด..... "

เป็นบทเพลงที่พี่น้องชาวกายภาพบำบัดทุกสถาบันได้พร้อมใจกันร้องดังขับขานในงานกายภาพบำบัดสัมพันธ์ ครั้งที่ 20 วันที่ 24 - 25 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมาซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ กายภาพบำบัดสัมพันธ์ (เดิมชื่อว่างาน ศกท.สัมพันธ์) เป็นงานที่จัดขึ้นโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย (สนกท.) เวียนกันเป็นเจ้าภาพทุกปีในแต่ละสถาบัน วัตถุประสงค์เพื่อให้พี่น้องชาวกายภาพบำบัดทุกสถาบันได้มีโอกาสทำความรู้จักกัน สานสัมพันธ์น้องพี่ชาวกายภาพบำบัดให้แนบแน่น พร้อมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน สำหรับงานในปีนี้ได้มีกิจกรรมเด่นของงานอยู่ที่การตั้งมั่นปณิธานกายภาพบำบัดเพื่อประชาชน ปณิธาน คือ ความตั้งใจจริงที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การตั้งปณิธานของพี่น้องชาวกายภาพบำบัดทั่วประเทศจึงเป็นเหมือนดวงดาวบนฟากฟ้าที่พร้อมใจกันไขว่ขว้ามาให้ได้ด้วยการชำระปณิธานภายใต้กระบวนการสรรสร้างกิจกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อมวลประชา

พวกเราจะเผยแพร่ความรู้ทางกายภาพบำบัดให้เข้าถึงประชาชน

เสียงกล่าวปณิธานที่พร้อมกันของพี่น้องชาวกายภาพบำบัดทั่วประเทศดังกึกก้องไปทั่วโรงยิมของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วยความแน่วแน่ในความมุ่งมั่น เป็นการแสดงออกถึงศักยภาพที่ทุกคนจะได้พร้อมใจกันและร่วมกันชำระปณิธานดังกล่าว จากภาพบรรยากาศของการร้องเพลงกายภาพบำบัดสัมพันธ์ที่ดังไปทั่วห้องหัวใจของพี่น้องกายภาพบำบัดจนน่าขนลุก บ่งบอกถึงสัญญาณที่ดีว่าพวกเราทุกคนสามารถบรรลุปณิธานที่ตั้งไว้ได้ด้วยความรัก ความสามัคคี และทำด้วยใจบริสุทธิ์ที่มิหวังผลตอบแทน โดยหวังแต่เพียงให้เห็นรอยยิ้มที่สดใสในสุขภาพที่แข็งแรงของประชาชนคนไทยที่เป็นที่รักทุกคน



วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สนกท.ในฝัน


สนกท.ในฝัน

นศก.วรพรรณ ปัญญาเวชกุล
 นักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 4
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                    เมื่อเราก้าวเข้าสู่มหาวิทยาลัย นั่นคือเราก้าวเข้าสู่บันไดของการศึกษาที่จะนำไปสู่ประตูแห่งการทำงานจริงตามที่นักศึกษาผู้นั้นใฝ่ฝัน แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่ชีวิตการทำงาน นอกจากความรู้ที่เราพึงมีแล้ว การทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้วิธีการทำงาน การเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคม กลับเป็นส่วนสำคัญยิ่ง ที่จะนำพาให้ชีวิตของนักศึกษาผู้นั้นไปสู่ความสำเร็จหลังจบการศึกษาได้

                    คณะกายภาพบำบัด ซึ่งก่อกำเนิดมาเพื่อให้นักศึกษาผู้แสวงหาหนทางแห่งความรู้ ที่มีจิตวิญญาณเสียสละแก่เพื่อนมนุษย์ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2508 โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์เฟื่อง สัตว์สงวน และได้ให้ชื่อว่า โรงเรียนกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นสถาบันแห่งแรกที่ผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัด จากจุดเริ่มต้นเล็กๆนั้น กลายเป็นรากฐานการเรียนรู้ของสาขาวิชากายภาพบำบัดเป็นต้นมา ทำให้ความรู้ทางกายภาพบำบัดได้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง และเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้การรักษาตามระบบสุขภาพที่มีคุณภาพในที่สุด

                    การเป็นนักกายภาพบำบัดที่ดี นอกจากการมีความรู้ที่ชัดเจน ก็ควรมีการจัดระบบการวางแผนการทำงานที่ดีด้วย ซึ่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนและการทำกิจกรรมนั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งกับนักศึกษากายภาพบำบัด ซึ่งนั่นหมายความว่า การรวมกลุ่มของชาวกายภาพบำบัดนั้น ก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าอย่างมากมาย นำไปสู่การรวมกลุ่มที่เรียกว่า กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด
                   
                    กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด  มีจุดประสงค์การจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นองค์กรที่แบ่งปันความรู้และเป็นช่องทางการสื่อสารกับสมาชิกนักศึกษากายภาพบำบัดไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสมาชิกจะต้องมีบทบาทและหน้าที่ในกลุ่ม ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการกระจายข่าวสารวิทยาการใหม่ๆที่มีมาตรฐานระดับชาติ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ การติดต่อสื่อสารภายในระหว่างสมาชิก และทำให้การสื่อสารระหว่างวิชาชีพของนักกายภาพบำบัดในประเทศไทยกับองค์กรอื่นๆนั้นมีประสิทธิภาพและช่วยส่งเสริมงานวิจัยทางกายภาพบำบัดให้มีมาตรฐานยิ่งๆขึ้นไป

                    กลยุทธ์สำหรับการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ควรตั้งอยู่บนแนวทางเดียวกัน อันได้แก่ ส่วนของสมาชิก ที่ควรได้รับข่าวสารทั้งทางวิชาการและวิชาชีพที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ และรวมกลุ่มจัดกิจกรรมที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน ส่วนของการจัดการภายใน ควรมีการพัฒนาระบบการบริหาร การใช้เทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของวารสารของกลุ่ม ส่วนของการเรียนรู้และการพัฒนา ควรพัฒนาทั้งตัวบุคคลและสื่อการเรียนรู้ของชาวกายภาพบำบัดที่เน้นภาษาไทยแต่มีความก้าวล้ำนำสมัย ส่วนสุดท้าย คือ การเงิน ผู้ที่เข้ามาดูแลนั้นควรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมโดยปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน

                    การมีส่วนร่วมกันในการทำกิจกรรมกลุ่มนั้นเรายึดถือแนวความคิดที่ว่า การแก้ปัญหา จะต้องแก้จากจุดเริ่มต้น ทำให้นักกายภาพบำบัด สามารถเข้าถึงปัญหาของผู้ป่วยได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ การส่งเสริม การป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟู ซึ่งหลักสำคัญดังกล่าว คือ เนื้อแท้ของชาวเรา ที่จะทำให้เราทุกคนนั้นเป็นนักกายภาพบำบัดอย่างเต็มภาคภูมิ ดังนั้นพวกเรา ชาวกายภาพบำบัด จึงไม่อาจละเลยข้อใดได้แม้เพียงข้อเดียว

                    แต่ในปัจจุบัน แผนกกายภาพบำบัด ได้ตกอยู่ภายใต้การทำงานที่ซับซ้อนของระบบการทำงานโรงพยาบาล โดยขึ้นกับแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ดังที่ทราบกัน คือ เน้นการฟื้นฟูหลังการเป็นโรคแล้วเป็นส่วนหลัก แต่กายภาพบำบัดที่แท้จริงนั้น เราต้องส่งเสริม ปกป้องและดูแลสุขภาพของประชาชนก่อนที่จะเป็นโรคต่างๆ หากผู้ป่วยมีภาวะของโรคแล้ว เราจึงทำการรักษาและฟื้นฟูภายหลัง

                    จากแนวความคิด แสดงให้เห็นความแตกต่างของเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดอย่างเด่นชัด ด้วยเหตุนี้ การกลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด ควรมีส่วนในการกระจายข้อมูลที่เกี่ยวข้องนี้ให้ทั่วถึง ให้นักศึกษากายภาพบำบัดทุกๆคนได้แสดงความคิดเห็น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของชาวกายภาพที่จะได้เข้าสู่การดูแลประชาชนให้ทั่วถึงอย่างแท้จริง

                    กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ที่จะส่งเสริมคุณค่าของความเป็นนักกายภาพบำบัดในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งเสริมความรู้ ด้านการส่งกิจกรรมกลุ่มและสังคม ด้านการพัฒนาคุณภาพของเทคโนโลยี และสุดท้าย คือ การยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการบริการทางกายภาพบำบัดสู่ประชาชน  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติอย่างแท้จริง

สนกท.ในฝัน

สนกท.ในฝัน

นศก.อมรเทพ จันทร์แก้ว
นักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 1
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
                   


                    พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “อโรคยา ปรมา ลาภา” ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ แต่ในความจริงนั้นคนเราทุกคนเมื่อมีเกิด ย่อมมีแก่ เจ็บ และตายในที่สุด เป็นวัฏจักรของชีวิตเรา ไม่มีใครสามารถจะล่วงพ้นไปได้ แม้แต่พุทธองค์ การที่เราได้เกิดมาในบนโลกนี้เพียงครั้งหนึ่งเราควรทำให้ชีวิตของเราดำรงอยู่อย่างยืนยาวพยายามที่จะหลีกหนี ป้องกันจากโรคภัยที่จะเกิดขึ้นอันเป็นผลเสียต่อสุขภาพเราและอาจถึงแก่ชีวิตได้โดยเร็วแต่เมื่อมีคนรู้วิธีการรักษาป้องกันโรคภัยนั้น ก็อาจจะเป็นการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้ การที่เกิดโรคภัยขึ้นก็เสมือนเป็นการประลองความคิดในการคิดค้นวิธีการป้องกันโรคภัยนั้นของผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขไม่ว่าเป็น แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางสาธารณสุขด้านต่างๆ ที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้กลับมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะเมื่อคนเราได้อันตรายอันเป็นเหตุให้เกิดโรคภัย อุบัติเหตุ เสื่อมเสียความบกพร่องของร่างกายและจิตใจ สิ่งหนึ่งที่สามารถจะช่วยเหลือให้เขากลับมามีชีวิตที่ดีขึ้นนอกเหนือจากการรักษาโดยวิธีการใช้ยาคือการทำกายภาพบำบัด

 
                    กายภาพบำบัด คือ การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัยและการบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การแก้ไขและฟื้นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด ซึ่งได้แก่ การดัด การดึง การประคบ การนวด การบริหารร่างกาย หรืออวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการกระทำด้วยวิธีการต่างๆ ดังกล่าวตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือการกระทำอื่นที่รัฐมนตรีประกาศเป็นวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัด ซึ่งผู้ที่จะสามารถทำกายภาพบำบัดได้นั้นจะต้องได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ มีความรักในอาชีพที่จะประกอบ ตามหลักที่ว่า “สองมือ หนึ่งสมอง ประคองชีวิต” หมายถึงการใช้สองมือ และใช้ความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย  ในปัจจุบันการรักษาด้วยกายภาพบำบัดได้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศหรือโรงพยาบาลภายในประเทศไทยของเรา ก็ได้มีการรวมกลุ่มก่อตั้งเพื่อส่งเสริมเรียนรู้เผยแพร่ในด้านกายภาพบำบัด ดังเช่น  สหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในเรื่องของความรู้ความสามารถด้านกายภาพบำบัด ในความใฝ่ฝันที่สังคมอยากเห็นการทำงานของสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย คือ การทำงานที่มุ่งเน้นหลักการอยู่ ๔ ประการ คือ “สืบสาน ส่งเสริม สร้างสรรค์  สู่ชน”  ประการแรกคือ สืบสาน หมายถึงการที่สหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดจะต้องสืบสานงานกายภาพบำบัดที่เป็นองค์ความรู้ดั้งเดิมแน่วแน่ในการสืบสานปณิธานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยสืบต่อไป  ประการที่สอง ส่งเสริม หมายความว่า จะต้องเป็นสหพันธ์ที่ส่งเสริมการคิดค้นวิจัย คิดค้นกิจกรรมด้านกายภาพบำบัด เช่น ส่งเสริมการออกกำลังกาย ส่งเสริมการทำกายบำบัดของผู้ป่วย ประการที่สาม คือ สร้างสรรค์ หมายถึง การเป็นสหพันธ์ที่สามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ ความสามารถ ในการคิดค้นผลงาน สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างประโยชน์ในทางกายภาพบำบัดเพื่อช่วยในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ  ประการที่สี่ คือ สู่ชน หมายถึง เป็นสหพันธ์ที่เข้าถึง      ปวงชนอย่างแท้จริง ช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ มีจิตสาธารณะ พร้อมที่จะเหลือช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถของตน เพื่อพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นและหายขาดจากโรคภัย  ซึ่งทั้งสี่ประการที่กล่าวมา สามารถแสดงให้เห็นถึงความเป็นสหพันธ์นิสิตนักศึกษาภายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยและการเป็นนักกายภาพบำบัดที่สมบูรณ์เพียบพร้อมทั้งความรู้และคุณธรรม เห็นแก่ประโยชน์สุขของคนอื่นเป็นอันดับหนึ่ง ประโยชน์ส่วนตนเป็นอันดับสอง ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาแห่งการแพทย์ไทย ที่กล่าวไว้ว่า “ฉันไม่ได้ต้องการให้เธอเป็นหมอเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ฉันต้องการให้เธอเป็นคนด้วย ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สองประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”

                    ดังนั้นความต้องการของสังคม ของประชาชน คือการปรารถนาที่จะไม่มีโรคภัย แต่หากจะข้ามพ้นจากโรคภัยนั้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาจากความรู้ความสามารถของบุคลากรทางด้านสาธารณสุขรวมถึงนักกายภาพบำบัด ที่จะสามารถช่วยเหลือให้พ้นจากโรคภัยได้ผ่อนความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้ แต่ความเป็นนักกายภาพบำบัดที่ดี จะต้องมีความรักความสามัคคีสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ดังเช่น สหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ที่จะสามารถทำงานได้ดีตามความต้องการของประชาชน ของสังคม คือ สามารถสืบสานความรู้ ส่งเสริมความสามรถ สร้างสรรค์ผลงาน และเข้าถึงสู่ประชาชน มุ่งทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน คิดถึงผู้อื่นเป็นหลักในการทำงาน เพียงเท่านี้ก็เชื่อว่าจะเป็นสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดที่เพียบพร้อมความรู้ สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม ก้าวนำสู่ความเป็นเลิศในด้านกายภาพบำบัดสากลต่อไป


วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทีมไม้เลื้อย กับงานกายภาพบำบัดชุมชน


กภ.สมคิด เพื่อนรัมย์
รพร.กุฉินารายณ์


ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีทีมงานกายภาพบำบัดทีมหนึ่งที่ทำงานในชุมชนเชิงรุก โดยทีมนี้เรียกตัวเองว่า ทีมไม้เลื้อย แรกเริ่มเดิมทีก็ทำงานในคลินิกเหมือนกายภาพบำบัดทั่วไป แต่พอมาทบทวนการทำงานกลับพบว่ามีคนจำนวนมากที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่มารับบริการลำบากจากเรื่องค่าใช้จ่ายหรืออื่นๆ ดังนั้นการทำงานต้องลงพื้นที่ไปสัมผัสผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน จึงจำเป็นที่เราจะต้องไปเห็นผู้ป่วยและผู้พิการทุกคน การลงพื้นที่จะทำให้เราเห็นบริบทอื่นๆเห็นสภาพแวดล้อม เห็นชีวิตคนทั้งชีวิตและที่สำคัญคือเห็นโอกาสในการช่วยเหลือและเยียวยา



ในการลงชุมชนนั้นทีมงานได้เข้าไปดูแลด้วยความเอาใจใส่ ดูแลห่วงใยดุจญาติใกล้ชิด ชาวบ้านเองก็ให้ความร่วมมือ ให้มิตรภาพ ให้ความไว้วางใจ เขาไม่ได้มองเราว่าเป็นนักกายภาพบำบัด แต่เขามองเราเหมือนว่าเป็นคนในครอบครัว เป็นที่พึ่งเป็นหมอคนสำคัญที่สามารถช่วยเหลือแก้ปัญหาเขาได้ทุกอย่าง เราเองจึงต้องพัฒนาองค์ความรู้ให้หลากหลาย ครอบคลุม และตอบสนองต่อมิติสุขภาพ ดังนั้นความรู้วิชาชีพเฉพาะด้านจึงไม่เพียงพอ ทีมงานจึงต้องเปิดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้คร่อมสายงาน ทางด้านการแพทย์และความรู้ทางชุมชน สิ่งสำคัญและจำเป็นอีกประการคือ หัวใจความเป็นมนุษย์ กายภาพบำบัดชุมชนจะต้องมากคนทั้งชีวิต มองให้เห็นมากกว่าโรคหรือความพิการ เราต้องมองให้ลึกถึงความทุกข์ มองให้ลึกถึงความคิด มองให้เห็นโอกาสของชีวิตคนคนหนึ่ง ที่สามารถจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ มีครอบครัวที่เข้าใจ มองเห็นคุณค่าในตัวเอง พี่ขอเรียกกระบวนการเหล่านี้ว่า กระบวนการไม้เลื้อย ที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูชีวิต มิใช่แค่การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย การลดปวด การเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ การจ่ายกายอุปกรณ์ ซึ่งหลายครั้งทีมงานต้อง ไปช่วยสร้างอาชีพ ปรับความเข้าใจครอบครัว ส่งลูกคนพิการไปโรงเรียน สงเคราะห์พิเศษหาทุนการศึกษา ของบเทศบาลปรับพื้นบ้าน สร้างห้องน้ำ สร้างบ้านเป็นหลัง ไปล้างแผล ไปดูเรื่องยา ไปเจาะเบาหวาน ไปใส่สายสวนปัสสาวะ ไปวัดความดัน ไปทำทุกอย่างที่เราทำได้เพื่อให้คนพิการ ครอบครัว หรือชุมชนดีขึ้น ตามศักยภาพที่เรามีหรือเราทำได้ สามารถแก้ปัญหาได้

นอกจากการดูแลดังกล่าวแล้ว ทีมไม้เลื้อยยังมีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่เป็นหัวใจหลักดังนี้ คือ
1. ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
2. ผู้ดูแล ญาติ มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
3. มีการสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการดูแลคนในชุมชน
4. ทีมงานต้องความรู้ทักษะในการทำงานมากขึ้น
                ในวัตถุประสงค์ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าเราอยากให้คนในชุมชนดูแลช่วยเหลือกันและกันได้

                นอกจากงานรักษาฟื้นฟู ทีมงานยังมีการส่งเสริมสุขภาพ โดยการจัดอบรบต่างๆไม่ว่าจะเป็นอบรมติดอาวุธให้กับ อสม. จัดกีฬาผู้สูงอายุ จัดแข่งขันแอโรบิก และจัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง คนอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
               
หลังจากการดำเนินงานเยี่ยมบ้าน ทีมงานพบว่าสุขภาพคนในชุมชนดีขึ้น คนพิการได้รับการช่วยเหลือขึ้นทะเบียน ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างครอบคลุม หน่วยงานต่างๆได้มาศึกษาดูงานในการเยี่ยมบ้าน ช่วยเหลือคนในชุมชน เอากระบวนการไม้เลื้อยไปขยายพันธุ์ สิ่งที่เกิดขึ้นแบบนี้ไม่รู้จะเรียกว่าอย่างไรดี มันเป็นความปลาบปลื้มใจในความเป็นวิชาชีพของเรา วิชาชีพกายภาพบำบัด


วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ที่มาของตราสัญลักษณ์ สนกท.

  
        เดิมนั้น สหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย (สนกท.) มีชื่อว่า ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย (ศกท.) ได้ใช้ตราสัญลักษณ์ คือ


และผู้ที่ออกแบบตราสัญลักษณ์นี้คือ นางสาวนันทกร เนตรพระ นิสิตกายภาพบำบัดจากมหาวิทยาลัยนเรศวร จากการประกวดตราสัญลักษณ์ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยในงาน ศกท. สัมพันธ์ ครั้งที่ 16 วันที่ 21 - 22 ตุลาคม 2549 ณ วังรีรีสอร์ท จังหวัดนครนายก ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ

ความหมาย

          เปลือกตาสัเลือดหมู บนตัวอักษณทั้ง 3 ตัวนี้ เป็นเปลือกตาที่เปี่ยมล้นไปด้วยรอยยิ้มแห่งความสุข ความรักพี่รักน้อง และยังสื่อถึงสมาชิกศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ที่ช่วยกันมองหาปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยของเรา และช่วยกันแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างประสบความสำเร็จโดยไม่มีการทอดทิ้งกัน
          รูปตัวคน 2 คน ที่อยู่หลังอักษร ศกท. มีสีชมพู โดยสีชมพูนี้ เป็นสีประจำวิชาชีพกายภาพบำบัด จึงเปรียบเสมือนบุคลากรทางกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยที่ออกไปสู่สังคมอย่างไม่โดดเดี่ยว ทำงานให้กับสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ เปี่ยมล้นไปด้วยความรู้ทางกายภาพบำบัด และมีจุดประสงค์หลักร่วมกันคือ การพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดของประเทศไทยต่อไป (ดูได้จากศีรษะของคนที่มีเพียงศีรษะเดียว เป็นสีธงชาติไทย)
         อักษร ศกท. คือ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย
               ศ        ความหมายโดยนัยตามรูปลักษณ์ เป็นรูปเก้าอี้รถเข็น ซึ่งเป็นอุปกรณ์หนึ่งทางกายภาพบำบัด การที่อักษร ศ มีขนาดใหญ่นั้น จึงเปรียบ ศ นี้เหมือนกับรุ่นพี่สมาชิกศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย
               ก,ท    ตัวอักษร ก และ ท มีขนาดเล็กกว่า ศ จึงเปรียบอักษร ก และ ท ได้กับรุ่นน้องที่พึ่งเข้าร่วมเป็นสมาชิกศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย
               ศกท. อักษร ศกท. ที่มีการซ้อนทับกันนั้น เปรียบได้กับการที่สมาชิกศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย มีความสนิทสนมกลมเกลียวกัน มีความสามัคคีกัน โดยมีรุ่นพี่ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยนี้(ศ) คอยดูแลอยู่เคียงข้างรุ่นน้อง(ก,ท) อย่างไม่ทอดทิ้ง

          ปัจจุบันหลังจากที่ได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มกิจกรรมมาเป็น สหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย นายกิจชนะ แก้วแก่น นายกสหพันธ์ฯได้ขอให้นางสาวนันทกร เนตรพระ ออกแบบตราสัญลักษณ์อีกครั้งโดยคงลักษณะรูปแบบเดิมของตรา ศกท. ไว้ เพียงแค่เปลี่ยนตัวอักษรในตรา ศกท. มาเป็น สนกท. และความหมายของตราสัญลักษณ์ยังคงเค้าโครงเดิมเช่นกัน คือ
                 "ส"      ในตราสัญลักษณ์ใหม่นั้นแทน"ศ"ในตราสัญลักษณ์เดิม
                 "นกท" ในตราสัญลักษณ์ใหม่นั้นแทน"กท."ในตราสัญลักษณ์เดิม

และรูปแบบของตราสัญลักษณ์ที่ใช้ในปัจจุบันนี้ คือ



เพลงกายภาพบำบัดสัมพันธ์

" จากวันที่เราก้าวมา
สู่วิชาชีพที่มุ่งหวัง
ก็ตั้งจิตตั้งใจ   จะผ่าจะฟัน
ขยันพากเพียรด้วยใจ

เด็กกายภาพอย่างเรา
จะขอทำอย่างนิยามไว้
ตรวจประเมินร่างกาย
บำบัดด้วยใจ
และฟื้นฟูผู้เจ็บป่วย

พวกเราในนาม Physical therapy
จะใช้ทั้งกายและใจ
ร่วมกันรักษาด้วยความตั้งใจ
และยึดตามหลักปณิธาน
พวกเราในนามกายภาพบำบัด
จะขอเป็นกำลังต่อไป

ให้คนได้รู้ ติดตรึงชื่อไว้ ด้วยใจ........................กายภาพบำบัด

       the way that you will be       helping out for someone life
       take the lead and take the pride
       come forth and give a try          

we will let go to see
successful in tomorrow
we are to win, we never lost
we love people in the world


พวกเราในนาม Physical therapy
จะใช้ทั้งกายและใจ
ร่วมกันรักษาด้วยความตั้งใจ
และยึดตามหลักปณิธาน
พวกเราในนามกายภาพบำบัด
จะขอเป็นกำลังต่อไป
ให้คนได้รู้ ติดตรึงชื่อไว้ ด้วยใจ  กายภาพบำบัด
ให้คนได้รู้ ติดตรึงชื่อไว้ ด้วยใจ.....................................กายภาพบำบัด "

ประวัติความเป็นมาของ สนกท.

          …แท้จริงแล้ว การรวมตัวกันของนักศึกษากายภาพบำบัดสถาบันต่างๆมีมาแต่สมัยก่อนแล้ว โดยในระยะหลังได้จัดในรูปของงาน “PT 4 สถาบันซึ่งเวียนกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี มี มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม คือ มหิดล, เชียงใหม่, ขอนแก่น และ รังสิต แต่เนื่องจากขาดการประสานงานอย่างต่อเนื่องระหว่างสถาบันต่างๆ งาน “PT 4 สถาบันจึงจัดอย่างไม่ต่อเนื่องนัก และในปี พ.. 2533 ก็เป็นครั้งสุดท้ายของการจัดงานดังกล่าว โดยจัดที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากในปีถัดมาเจ้าภาพในการจัดงานไม่พร้อม จึงได้งดจัดงานมาเรื่อยๆ
         …กระทั่งในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2535 ได้มีการพูดคุยกันระหว่างนักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 4 ของม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ในระหว่างการฝึกงานที่โรงพยาบาลประสาท กรุงเทพฯ ว่าน่าจะจัดให้มีองค์กรที่คอยประสานงานในการจัดงานรวมตัวของนักศึกษากายภาพบำบัดสถาบันต่างๆขึ้น โดยคิดว่าจะจัดตั้ง สมาพันธ์นักศึกษากายภาพบำบัดขึ้น (แต่ก็ได้เปลี่ยนชื่อในภายหลัง) และในที่สุดก็ได้นัดประชุมอย่างเป็นทางการที่ ม.มหิดล โดยมีตัวแทนจาก ม.มหิดล, .เชียงใหม่ และ ม.รังสิต เข้าร่วม รวมประมาณ 7 คนจากการประชุมนี้จึงได้ออก ร่างระเบียบศูนย์กลางนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยขึ้นและอาจถือได้ว่าการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกของ ศ... และในรูปแบบของการจัดตั้งศูนย์กลางฯนี้ ก็ได้กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะกรรมการกลางและ คณะกรรมการดำเนินงานโดย คณะกรรมการกลางนั้นมาจากตัวแทนของสถาบันต่างๆ มีหน้าที่ในการลงมติในการประชุมของ ศ...  ส่วนคณะกรรมการดำเนินงานเป็นการเวียนกันเป็นของสถาบันต่างๆในแต่ละปี เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานของ ศ...
           …จากนั้นมา ศ...ก็ได้เริ่มขึ้น



ปี  2535 – 2536     - ประชุมครั้งแรกของ ศ... ที่ ตึกศรีสังวาลย์ โรงพยาบาลศิริราช
                          - มี 4 สถาบันเข้าร่วม คือ ม.มหิดล, .เชียงใหม่, .ขอนแก่น และ ม.รังสิต
            - .มหิดล เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ปีแรก
                          ประธาน ศ... คือ  .. ประภาพรรณ ปลาทอง  .มหิดล
                          - ออก ร่างระเบียบศูนย์กลางนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย


ปี  2536 – 2537     - มีการประชุมส่งต่องาน ศ... ให้กับรุ่นน้อง
            - .มหิดล เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                          ประธาน ศ... คือ  .. รัมภา บุญสินสุข  .มหิดล
                          - ออก ระเบียบศูนย์กลางนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยตัวจริง


ปี  2537 – 2538   - มีการลงนามจดหมายเข้าร่วม ศ... ของ 4 สถาบัน มีอาจารย์ที่ปรึกษารับรอง
             - .มหิดล เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                           ประธาน ศ... คือ  .. ยอดขวัญ เศวตรักษา  .มหิดล
                           - ออก วารสาร ศ...” ฉบับแรก  โดย ม.เชียงใหม่
             -          เริ่มนัดจัดงาน Meeting 4 สถาบัน แต่ติดปัญหาการเดินทาง จึงต้องเลื่อนการจัดงานไป


ปี  2538 – 2539     - มศว. ประสานมิตร และ .หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วม ศ...
                           - รวม ... มีสมาชิก 6 สถาบัน
             - .มหิดล เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                           ประธาน ศ... คือ  .. สุธิดา ประชาศิลป์ชัย  .มหิดล
            - คิดจัดโครงงานรวมใจกายภาพที่ .เชียงใหม่ ช่วง ต.. 2538 แต่ติดปัญหาต้องเลิกล้มงานไป


ปี  2539 – 2540     - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วม ...
                          - รวม ... มีสมาชิก 7 สถาบัน
            - มศว. ประสานมิตร เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                          ประธาน ศ... คือ
                          - จัดงาน ... สัมพันธ์ ครั้งที่ 1” ที่ สวางคนิวาส บางปู กรุงเทพฯ วันที่ 30 .. – 1 .. 2539


ปี  2540 – 2541     - . ขอนแก่น เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                          ประธาน ศ... คือ .. ชุติมา ทองรัตนชาติ  .ขอนแก่น
                          - จัด... สัมพันธ์ ครั้งที่ 2” ที่ จ.ขอนแก่น  ระหว่างวันที่ 5 – 6 ธันวาคม 2540


ปี  2541 – 2542      -. เชียงใหม่ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                           ประธาน ศ... คือ นาย สุรินทร์ กุลจันทร์  .เชียงใหม่
                           -ม.ธรรมศาสตร์ เข้าร่วม ...
                           -รวม ... มีสมาชิก 8 สถาบัน
                           -จัดงานสัมมนาวิชาชีพกายภาพบำบัดโดยนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยที่ จ.เชียงใหม่  ระหว่างวันที่ 23 – 25 .. 2541


ปี  2542 – 2543     -จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                            ประธาน ศ... คือ .. ยุพา ไพรงามเนตร  ม.จุฬาฯ
                          -เสนอจัดงานกีฬาสู่สายใยค่ายสัมพันธ์ ศ.ก.ท. ครั้งที่ 5”
                          -ออกวารสาร PT JOURNAL  โดย จุฬาฯ
                          -ออกแบบตราสัญลักษณ์ ...” และแก้ไขระเบียบ ...”
                          -แก้ไขชื่อ ...” เป็น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย


ปี  2543 – 2544     - ม.ขอนแก่น เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                            ประธาน ศ... คือ น.ส.ปนัดดา ประโคถานัง  ม.ขอนแก่น
                          - เสนอจัดค่าย ศ.ก.ท. สัมพันธ์ ครั้งที่ 6” ที่ จ.ขอนแก่น  ระหว่างวันที่ 21 – 22 .. 2543

.
.
.
.
.

พ.ศ 2553 มีการเปลี่ยนชื่อจาก "ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย" มาเป็น "สหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย" ด้วยเหตุผลสนับสนุน 3 ประการคือ

1. ระบบการบริหารงานของ ศกท.ที่เปลี่ยนไป สืบเนื่องจากระบบการบริหารงานของ ศกท. ในอดีตนั้น      จะมีสถานที่ตั้งของ ศกท. ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้เป็นศูนย์กลาง ในการติดต่อนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดสถาบันต่างๆ แต่ในปัจจุบันสถานที่ตั้งของ ศกท. ได้เปลี่ยนไป จากในระเบียบศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2552 ได้ระบุไว้ดังนี้ว่า ข้อ 4 ที่ตั้ง ขึ้นกับมหาวิทยาลัยของประธานคณะกรรมการกลาง ศกท. ที่ดำรงตำแหน่งในแต่ละปี  ดังนั้นที่ตั้งของ ศกท. จะปรับเปลี่ยนไปตามสถาบันต่างๆ ได้ทั่วประเทศ เพราะประธานที่ดำรงตำแหน่งในแต่ละปีมาจากหลากหลายสถาบัน

2. การทำงานของ ศกท. มีวัตถุประสงค์หลักของกลุ่มกิจกรรม คือ เพื่อสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์ระหว่าง นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดจากสถาบันต่างๆ (อ้างตาม ระเบียบศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2552  ข้อ 5  วัตถุประสงค์ ในข้อ 5.1 ) ดังนั้นการใช้คำว่า Union จึงเหมาะสมกว่าคำว่า Center เพราะแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ภายในการรวมกลุ่มมากกว่า
3.  เนื่องด้วยใน ปี 2552 และ ปี 2553 เป็นช่วงของการปฏิรูป ศกท. อยู่แล้ว ตามแผนงาน ดังนั้น การเปลี่ยนชื่อ ศกท. เป็น สนกท. จึงอยู่ในขอบข่ายปฏิบัติด้วย อีกทั้ง การเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้  เพื่อเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดไทย โดยอาศัยพลังขับเคลื่อนจากการเปลื่ยนชื่อกลุ่มในครั้งนี้ ทำให้เกิด การพัฒนาของกลุ่มนักศึกษาในมิติใหม่ในทุกๆด้าน

การพัฒนางานของ สนกท. ในปี 2553 นี้ ได้พัฒนาการเปิดโลกของ สนกท. ให้เป็นที่รู้จักของสังคมมากยิ่งขึ้น มีการก้าวเข้าไปแสดงบทบาทในเวทีของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดระดับเอเชียเป็นปีแรก มีการติดต่อกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาวิชาชีพอื่น คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชฯ สาธารณสุข โดยเป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์งานค่าย 5 หมอของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาวิชาชีพเพื่อสุขภาพ (สนวส.) เป็นปีแรก 
อย่างไรก็ตาม งานของ สนกท. ยังคงต้องพัฒนางานให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไป ควบคู่กับการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดภายใต้บทบาทของนิสิตนักศึกษา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอาศัยพลังการขับเคลื่อนจากพี่น้องชาวกายภาพบำบัดทุกสถาบันทั่วประเทศในการร่วมกันพัฒนา