วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ยุทธศาสตร์การบริหารงานและการพัฒนา สนกท. ปี 2553

นศก.กิจชนะ แก้วแก่น
นายกสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ปี 2553

ยุทธศาสตร์ระยะสั้น/กลยุทธ์
 
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการสื่อสารระหว่างสมาชิก
เป้าประสงค์ : มีการผลิตสื่อที่เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลระหว่าง สนกท. กับสมาชิก เพื่อเผยแพร่ข่าวคราวความเคลื่อนไหวของ สนกท. ความรู้ทางกายภาพบำบัด และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิชาชีพให้กับสมาชิก
กลยุทธ์ : มีการจัดทำวารสาร สนกท. จุลสาร สนกท. และเวปไซด์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์สมาชิกระหว่างสถาบัน
เป้าประสงค์ : ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้สมาชิกของ สนกท. ได้สร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน 
กลยุทธ์ : ดำเนินกิจกรรมโครงการกายภาพบำบัดสัมพันธ์

 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสังคม
เป้าประสงค์ : ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ทางกายภาพบำบัดต่อสังคมและประชาสัมพันธ์วิชาชีพให้เป็นที่รู้จักของสังคมมากขึ้นโดยการจัดกิจกรรมได้ใช้พื้นฐานความรู้จากในห้องเรียน
กลยุทธ์ : ดำเนินกิจกรรมโครงการค่ายกายภาพบำบัด โครงการแนะนำวิชาชีพกายภาพบำบัด

 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างกรรมการประจำสถาบัน
เป้าประสงค์ : จัดกิจกรรมให้กรรมการประจำสถาบันได้ช่วยกันทำงาน
กลยุทธ์ : ดำเนินกิจกรรมโครงการจุลสาร

 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมความร่วมมือจากสมาชิกในการพัฒนา สนกท.
เป้าประสงค์ : จัดโครงการประกวดต่างๆให้สมาชิกได้ส่งผลงานที่แสดงออกถึงแนวคิดอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา สนกท. และเปิดโอกาสให้สมาชิกร่วมส่งบทความที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกคนอื่นๆลงประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อที่ สนกท. ได้สร้างขึ้น
กลยุทธ์ : ดำเนินกิจกรรมโครงการออกแบบปกวารสาร สนกท. โครงการประกวดเรียงความและร้อยกรอง สนกท.

 ยุทธศาสตร์ระยะยาว/กลยุทธ์

 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างมาตรฐานระบบการทำงานของ สนกท.
เป้าประสงค์ : เป็นการพัฒนากลุ่มกิจกรรมให้มีความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างและการบริหารงาน
กลยุทธ์ที่ 1 : จัดระบบการทำงานเป็นส่วนๆที่สามารถตรวจสอบการทำงานได้ง่าย
กลยุทธ์ที่ 2 : มีการจัดทำแผนการดำเนินงานในรอบปี
กลยุทธ์ที่ 3 : กิจกรรมทุกกิจกรรมของ สนกท. ต้องมีเนื้อหาทางวิชาการหรือข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับสมาชิกอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ กิจกรรมที่เป็นการทำสาธารณประโยชน์ต่อชุมชนต้องเป็นการทำกิจกรรมที่อิงข้อมูลทางวิชาการ ( evidence base ) หรือหลักการต่างๆที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ


ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความโปร่งใสในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการเงินและปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน
เป้าประสงค์ : เพื่อให้เงินของสมาชิกทุกบาทได้สร้างประโยชน์กลับคืนสู่ตัวของสมาชิกเอง การพัฒนาวิชาชีพ และสังคมให้มากที่สุด
กลยุทธ์ที่ 1 : มีระบบการทำบัญชีที่สามารถตรวจสอบได้
กลยุทธ์ที่ 2 : การอนุมัติเงินที่ใช้แต่ละโครงการขึ้นกับมติของคณะกรรมการกลาง
กลยุทธ์ที่ 3 : ทุกกิจกรรมที่ใช้เงินต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินพร้อมสรุปการใช้เงินต่อที่ประชุมกลางหลังเสร็จสิ้นโครงการ
 
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเครือข่าย สนกท. ประจำสถาบัน
เป้าประสงค์ : ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและพัฒนาความแข็งแกร่ง สนกท. ประจำสถาบัน
กลยุทธ์ที่ 1 : ให้แต่ละสถาบันจัดตั้งกลุ่มกิจกรรม สนกท.ประจำสถาบันของตนเองขึ้นมาเชื่อมโยงกับการทำงานของ สนกท. ส่วนกลาง
กลยุทธ์ที่ 2 : พัฒนาให้ สนกท. แต่ละสถาบันมีความแข็งแกร่งมากขึ้นด้วยกิจกรรม
 
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดทำข้อมูลที่ใช้สำหรับการบริหารงานของ สนกท.
เป้าประสงค์ : จัดทำข้อมูลเพื่อบ่งบอกความต้องการของสมาชิก และสร้างข้อมูลไว้เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการบริหารงาน
กลยุทธ์ที่ 1 : ทุกโครงการต้องมีการจัดทำสรุปโครงการเสนอต่อที่ประชุมกลางหลังการดำเนินงานแล้วเสร็จ
กลยุทธ์ที่ 2 : จัดทำรายงานประจำปี
กลยุทธ์ที่ 3 : พัฒนางานวิจัย ( evidence base )
 
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมความร่วมมือการทำงานกับนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ : แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม กิจกรรม เปิดโลกทัศน์ เชื่อมความสัมพันธ์ และส่งเสริมการทำงานระดับนานาชาติ รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของนานาประเทศ
กลยุทธ์ : ส่งเสริมเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดเอเชีย
( Asia Physical Therapy Student Association : APTSA )
 
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมกิจกรรมร่วมกับนิสิตนักศึกษาสาขาอื่น
เป้าประสงค์ : เรียนรู้การทำงานร่วมกับนิสิตนักศึกษาสาขาอื่นและประชาสัมพันธ์ให้นิสิตนักศึกษาสาขาอื่นเข้าใจในบทบาทของวิชาชีพกายภาพบำบัด มากขึ้น
กลยุทธ์ : ส่งเสริมเข้าร่วมทำกิจกรรมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาวิชาชีพเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ( สนวส. )

 
 หลักการพัฒนาของ สนกท.
 
การก้าวพัฒนาบนพื้นฐานของหลักการและเหตุผล
ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
โดยมองเป็นมิติของการพัฒนากลุ่มกิจกรรม
ผลยังการพัฒนาวิชาชีพต่อไปภายใต้บทบาทนิสิตนักศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น