วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของ สนกท.

          …แท้จริงแล้ว การรวมตัวกันของนักศึกษากายภาพบำบัดสถาบันต่างๆมีมาแต่สมัยก่อนแล้ว โดยในระยะหลังได้จัดในรูปของงาน “PT 4 สถาบันซึ่งเวียนกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี มี มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม คือ มหิดล, เชียงใหม่, ขอนแก่น และ รังสิต แต่เนื่องจากขาดการประสานงานอย่างต่อเนื่องระหว่างสถาบันต่างๆ งาน “PT 4 สถาบันจึงจัดอย่างไม่ต่อเนื่องนัก และในปี พ.. 2533 ก็เป็นครั้งสุดท้ายของการจัดงานดังกล่าว โดยจัดที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากในปีถัดมาเจ้าภาพในการจัดงานไม่พร้อม จึงได้งดจัดงานมาเรื่อยๆ
         …กระทั่งในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2535 ได้มีการพูดคุยกันระหว่างนักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 4 ของม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ในระหว่างการฝึกงานที่โรงพยาบาลประสาท กรุงเทพฯ ว่าน่าจะจัดให้มีองค์กรที่คอยประสานงานในการจัดงานรวมตัวของนักศึกษากายภาพบำบัดสถาบันต่างๆขึ้น โดยคิดว่าจะจัดตั้ง สมาพันธ์นักศึกษากายภาพบำบัดขึ้น (แต่ก็ได้เปลี่ยนชื่อในภายหลัง) และในที่สุดก็ได้นัดประชุมอย่างเป็นทางการที่ ม.มหิดล โดยมีตัวแทนจาก ม.มหิดล, .เชียงใหม่ และ ม.รังสิต เข้าร่วม รวมประมาณ 7 คนจากการประชุมนี้จึงได้ออก ร่างระเบียบศูนย์กลางนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยขึ้นและอาจถือได้ว่าการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกของ ศ... และในรูปแบบของการจัดตั้งศูนย์กลางฯนี้ ก็ได้กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะกรรมการกลางและ คณะกรรมการดำเนินงานโดย คณะกรรมการกลางนั้นมาจากตัวแทนของสถาบันต่างๆ มีหน้าที่ในการลงมติในการประชุมของ ศ...  ส่วนคณะกรรมการดำเนินงานเป็นการเวียนกันเป็นของสถาบันต่างๆในแต่ละปี เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานของ ศ...
           …จากนั้นมา ศ...ก็ได้เริ่มขึ้น



ปี  2535 – 2536     - ประชุมครั้งแรกของ ศ... ที่ ตึกศรีสังวาลย์ โรงพยาบาลศิริราช
                          - มี 4 สถาบันเข้าร่วม คือ ม.มหิดล, .เชียงใหม่, .ขอนแก่น และ ม.รังสิต
            - .มหิดล เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ปีแรก
                          ประธาน ศ... คือ  .. ประภาพรรณ ปลาทอง  .มหิดล
                          - ออก ร่างระเบียบศูนย์กลางนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย


ปี  2536 – 2537     - มีการประชุมส่งต่องาน ศ... ให้กับรุ่นน้อง
            - .มหิดล เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                          ประธาน ศ... คือ  .. รัมภา บุญสินสุข  .มหิดล
                          - ออก ระเบียบศูนย์กลางนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยตัวจริง


ปี  2537 – 2538   - มีการลงนามจดหมายเข้าร่วม ศ... ของ 4 สถาบัน มีอาจารย์ที่ปรึกษารับรอง
             - .มหิดล เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                           ประธาน ศ... คือ  .. ยอดขวัญ เศวตรักษา  .มหิดล
                           - ออก วารสาร ศ...” ฉบับแรก  โดย ม.เชียงใหม่
             -          เริ่มนัดจัดงาน Meeting 4 สถาบัน แต่ติดปัญหาการเดินทาง จึงต้องเลื่อนการจัดงานไป


ปี  2538 – 2539     - มศว. ประสานมิตร และ .หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วม ศ...
                           - รวม ... มีสมาชิก 6 สถาบัน
             - .มหิดล เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                           ประธาน ศ... คือ  .. สุธิดา ประชาศิลป์ชัย  .มหิดล
            - คิดจัดโครงงานรวมใจกายภาพที่ .เชียงใหม่ ช่วง ต.. 2538 แต่ติดปัญหาต้องเลิกล้มงานไป


ปี  2539 – 2540     - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วม ...
                          - รวม ... มีสมาชิก 7 สถาบัน
            - มศว. ประสานมิตร เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                          ประธาน ศ... คือ
                          - จัดงาน ... สัมพันธ์ ครั้งที่ 1” ที่ สวางคนิวาส บางปู กรุงเทพฯ วันที่ 30 .. – 1 .. 2539


ปี  2540 – 2541     - . ขอนแก่น เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                          ประธาน ศ... คือ .. ชุติมา ทองรัตนชาติ  .ขอนแก่น
                          - จัด... สัมพันธ์ ครั้งที่ 2” ที่ จ.ขอนแก่น  ระหว่างวันที่ 5 – 6 ธันวาคม 2540


ปี  2541 – 2542      -. เชียงใหม่ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                           ประธาน ศ... คือ นาย สุรินทร์ กุลจันทร์  .เชียงใหม่
                           -ม.ธรรมศาสตร์ เข้าร่วม ...
                           -รวม ... มีสมาชิก 8 สถาบัน
                           -จัดงานสัมมนาวิชาชีพกายภาพบำบัดโดยนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยที่ จ.เชียงใหม่  ระหว่างวันที่ 23 – 25 .. 2541


ปี  2542 – 2543     -จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                            ประธาน ศ... คือ .. ยุพา ไพรงามเนตร  ม.จุฬาฯ
                          -เสนอจัดงานกีฬาสู่สายใยค่ายสัมพันธ์ ศ.ก.ท. ครั้งที่ 5”
                          -ออกวารสาร PT JOURNAL  โดย จุฬาฯ
                          -ออกแบบตราสัญลักษณ์ ...” และแก้ไขระเบียบ ...”
                          -แก้ไขชื่อ ...” เป็น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย


ปี  2543 – 2544     - ม.ขอนแก่น เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
                            ประธาน ศ... คือ น.ส.ปนัดดา ประโคถานัง  ม.ขอนแก่น
                          - เสนอจัดค่าย ศ.ก.ท. สัมพันธ์ ครั้งที่ 6” ที่ จ.ขอนแก่น  ระหว่างวันที่ 21 – 22 .. 2543

.
.
.
.
.

พ.ศ 2553 มีการเปลี่ยนชื่อจาก "ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย" มาเป็น "สหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย" ด้วยเหตุผลสนับสนุน 3 ประการคือ

1. ระบบการบริหารงานของ ศกท.ที่เปลี่ยนไป สืบเนื่องจากระบบการบริหารงานของ ศกท. ในอดีตนั้น      จะมีสถานที่ตั้งของ ศกท. ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้เป็นศูนย์กลาง ในการติดต่อนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดสถาบันต่างๆ แต่ในปัจจุบันสถานที่ตั้งของ ศกท. ได้เปลี่ยนไป จากในระเบียบศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2552 ได้ระบุไว้ดังนี้ว่า ข้อ 4 ที่ตั้ง ขึ้นกับมหาวิทยาลัยของประธานคณะกรรมการกลาง ศกท. ที่ดำรงตำแหน่งในแต่ละปี  ดังนั้นที่ตั้งของ ศกท. จะปรับเปลี่ยนไปตามสถาบันต่างๆ ได้ทั่วประเทศ เพราะประธานที่ดำรงตำแหน่งในแต่ละปีมาจากหลากหลายสถาบัน

2. การทำงานของ ศกท. มีวัตถุประสงค์หลักของกลุ่มกิจกรรม คือ เพื่อสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์ระหว่าง นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดจากสถาบันต่างๆ (อ้างตาม ระเบียบศูนย์กลางนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2552  ข้อ 5  วัตถุประสงค์ ในข้อ 5.1 ) ดังนั้นการใช้คำว่า Union จึงเหมาะสมกว่าคำว่า Center เพราะแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ภายในการรวมกลุ่มมากกว่า
3.  เนื่องด้วยใน ปี 2552 และ ปี 2553 เป็นช่วงของการปฏิรูป ศกท. อยู่แล้ว ตามแผนงาน ดังนั้น การเปลี่ยนชื่อ ศกท. เป็น สนกท. จึงอยู่ในขอบข่ายปฏิบัติด้วย อีกทั้ง การเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้  เพื่อเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดไทย โดยอาศัยพลังขับเคลื่อนจากการเปลื่ยนชื่อกลุ่มในครั้งนี้ ทำให้เกิด การพัฒนาของกลุ่มนักศึกษาในมิติใหม่ในทุกๆด้าน

การพัฒนางานของ สนกท. ในปี 2553 นี้ ได้พัฒนาการเปิดโลกของ สนกท. ให้เป็นที่รู้จักของสังคมมากยิ่งขึ้น มีการก้าวเข้าไปแสดงบทบาทในเวทีของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดระดับเอเชียเป็นปีแรก มีการติดต่อกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาวิชาชีพอื่น คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชฯ สาธารณสุข โดยเป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์งานค่าย 5 หมอของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาวิชาชีพเพื่อสุขภาพ (สนวส.) เป็นปีแรก 
อย่างไรก็ตาม งานของ สนกท. ยังคงต้องพัฒนางานให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไป ควบคู่กับการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดภายใต้บทบาทของนิสิตนักศึกษา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอาศัยพลังการขับเคลื่อนจากพี่น้องชาวกายภาพบำบัดทุกสถาบันทั่วประเทศในการร่วมกันพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น